เมนู

ไม่ทะเยอทะยาน เป็นมุนี ถึงบทอันระงับ
แล้ว อาศัยพระนิพพาน เป็นผู้ดับกิเลสได้
แล้ว ย่อมรอคอยกาล (เป็นที่ปรินิพพาน)
ดังนี้.


อรรถกถาอรติสูตร



ในสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า นิกฺขมติ ได้แก่ออกจากวิหาร. บทว่า อปรชฺชุ วา กาเล
ได้แก่ในวันที่ 2 หรือในเวลาภิกษาจาร. ได้ยินว่า พระเถระนั้นเคารพใน
วิหาร. บทว่า อรติญฺจ รติญฺจ ได้แก่ความไม่ยินดีในศาสนา และ
ความยินดีในกามคุณทั้งหลาย. บทว่า สพฺพโส เคหสิตญฺจ วิตกฺกํ
ความว่า และละวิตกลามกซึ่งอาศัยเรือนในกามคุณห้าโดยอาการทั้งปวง. บทว่า
วนถํ ได้แก่ป่าใหญ่คือกิเลส. บทว่า กุหิญฺจิ ได้แก่ในอารมณ์ไร ๆ. บทว่า
นิพฺพนโถ ได้แก่ผู้ปราศจากป่าคือกิเลส. บทว่า อรโต ได้แก่เว้นจาก
ความยินดีด้วยอำนาจตัณหา.
บทว่า ปฐวิญฺจ เวหาสํ ความว่า รูปที่ตั้งอยู่บนแผ่นดิน ได้แก่
รูปหญิงชาย ผ้าและเครื่องประดับเป็นต้น และรูปที่ตั้งอยู่ในอากาศมีแสงจันทร์
และอาทิตย์เป็นต้น. บทว่า รูปคตํ ได้แก่รูปนั่นเอง บทว่า ชคโตคธํ
ได้แก่รูปที่อยู่ในแผ่นดิน อธิบายว่า ถึงนาคพิภพภายในแผ่นดิน. บทว่า
ปริชิยฺยติ ได้แก่ทรุดโทรม. บทว่า สพฺพมนิจฺจํ ความว่า นั้นไม่เที่ยง
ทั้งหมด. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า นี้เป็นมหาวิปัสสนาของพระเถระ. บทว่า